กรณีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ #ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วยกัน หากเป็นธุรกรรมที่ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรายงานการทำธุรกรรม ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เป็นผู้ให้บริการรับซื้อขายมีหน้าที่ในการรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินต่อสำนักงาน ปปง.
แต่การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ #ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์ ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเป็นลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น หน้าที่ในการรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง. จึงเป็นของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศไม่มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมดังกล่าวต่อสำนักงาน ปปง. อีก
ที่มา : เทียบเคียงหนังสือตอบหารือเรื่องเสร็จ ที่ 1/2561
http://www.amlo.go.th/amlo-intr…/…/attachments/1.61_7769.pdf |
ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้เฉพาะ #ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า” เป็นผู้มีรายงานการทําธุรกรรมต่อสํานักงาน ปปง.
แต่ผู้ประกอบกิจการประมูลขายทอดตลาดซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 เป็นเพียง #ผู้ประกอบอาชีพขายทอดตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละประเภทกับผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ตามมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 ดังนั้น ผู้ประกอบกิจการประมูลขายทอดตลาดจึงมิใช่ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามมาตรา 16(5) ที่มีหน้าที่รายงานการทําธุรกรรมต่อสํานักงาน ปปง.
ที่มา : เทียบเคียงหนังสือตอบหารือเรื่องเสร็จ ที่ 3/2561
http://www.amlo.go.th/amlo-intranet/index.php/th/… |
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 16(3) ซึ่งลักษณะของสัญญาในการประกอบธุรกิจจะต้องเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยมีลักษณะที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขให้ผู้เช่าจะต้องใช้เงินเป็นงวดๆ ซึ่งจะแตกต่างกับ “สัญญาเช่าดําเนินการ” ที่ลูกค้ามีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้กับทางบริษัทฯ เมื่อครบอายุของสัญญาเช่า ซึ่งสัญญาในลักษณะดังกล่าวมีลักษณะที่ผูกผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง #สัญญาเช่านั้นไม่ได้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า แต่มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เช่าได้ครอบครองทรัพย์สินที่เช่าเพื่อที่จะได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่า ดังนั้น การที่บริษัทฯ ให้เช่ารถยนต์ในลักษณะของ สัญญาเช่าดําเนินการ จึงไม่อยู่ภายใต้การประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ตามมาตรา 16(3)
✅ ประเด็นที่ 2 กรณีที่ให้เช่าตามประเด็นที่ 1 นั้น ต่อมาภายหลังเมื่อครบอายุของสัญญาแล้วลูกค้ามีความประสงค์จะซื้อรถยนต์คันที่เช่าจะอยู่ในข่ายที่ต้องรายงานธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง. หรือไม่
|
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ กําหนดให้ธุรกรรมที่ทําผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือผ่านเครื่องฝากเงินอัตโนมัติเป็นธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานต่อสํานักงาน ปปง. แม้ธุรกรรมดังกล่าวจะเกินกว่า ๗๐๐,๐๐๐ บาทก็ตาม ธนาคารก็ไม่ต้องรายงานการทำธุรกรรม #เว้นแต่พบว่ามีการทำธุรกรรมที่ผิดปกติผ่านเครื่อง ATM / CDM ธนาคารยังคงมีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ที่มา : เทียบเคียงหนังสือตอบข้อหารือเรื่องเสร็จที่ 2/2562 |
✅ กรณีการถอนเงินสดแล้วไม่ได้รับเงินสดแต่นำฝากเข้าบัญชีสหกรณ์ของตนเองอีกบัญชีหนึ่งถือว่าเป็นการทำธุรกรรมภายในสถาบันการเงินเพื่อลูกค้ารายเดียวกัน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๖๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๔ (๙) (ข) จึงเป็นการทำธุรกรรม #ภายในสถาบันการเงินเพื่อลูกค้ารายเดียวกัน ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง.
|